วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ให้นักเรียนเขียนสรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)  ใน Web Blog ของแต่ละคน และแจ้ง URL ของนักเรียนให้ครูทราบเพื่อจะได้เข้าไปตรวจให้คะแนน
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ชื่อ นางสาว ขวัญฤทัย สกุล มีชัย  เลขที่ 32 ห้อง 5/9 
กลุ่มที่  9 
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา
ผู้ในท้องถิ่นละเลยสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันมีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆให้ผู้คนเลือกท่องเที่ยวมากมาย บางคนเลือกที่จะท่องเที่ยวสถานที่ดังๆ บางคนเลือกสถานที่ที่กำลังเป็นที่นิยม จนลืมไปว่า ในท้องถิ่นของตนเองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ และดังไปทั่วโลก เช่น วัดสวนโมกข์ ซึ่งมีช่าวต่างชาติมาท่องเที่ยวและปฎิบัติธรรมที่วัดสวนโมกข์มากมาย แต่คนในท้องถิ่นกลับละเลย และไม่เที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง ผลที่เกิดขึ้น คือ เศรษฐกิจในท้องท้องถิ่นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจึงไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้า  เราหันมาเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น พ่อค้าและแม่ค้าที่ทำอาชีพค้าขาย ก็จะมีรายได้จากนักท่องเที่ยว ทางกลุ่มของพวกเราจึงได้เล็งเห็นปัญหาการละเลยสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น
ทางกลุ่มของพวกเราจึงอยากช่วยแก้ไขปัญหานี้ เพื่อส่งผลให้ท้องถิ่นของเราเอง มีเศรษฐกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเองว่า เพราะเหตุใด คนในท้องถิ่นถึงละเลยไม่เที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง
  2. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผู้คนละเลยสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น โดย มีการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นในรูปแบบของสารคดีท่องเที่ยว เพื่อให้คนในท้องถิ่นเกิดความสนใจที่จะเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง
  3. เพื่อเรียนรู้วิธีการทำสารคดีสั้น โดย การทำจะมีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน ตามความถนัด เพื่อให้ได้สารคดีที่มีประสิทธิภาพและทุกคนได้ลงลงมือทำและมีส่วนร่วมในการทำสารคดี








ผลการศึกษา
  1. ผู้คนในท้องถิ่นหันมาเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นมากขึ้น
  2. เศรษฐกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวดีขึ้น
  3. สมาชิกในกลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำสารคดีการท่องเที่ยว


เสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
ในการแก้ไขปัญหานี้ เราต้องปลูกฝังจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้หันมาเห็นความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง โดย ต้องปลูกฝังให้เห็นความสำคัญตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่
มีการจัดสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น สวนสนุกริมทะเล เพื่อดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวในสถานที่นั้นๆมากขึ้น
จัดงานตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในท้องถิ่นเมื่อมีเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ ผู้คนจะได้เห็นความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียน IS
  1. ได้รับความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างสารคดีการท่องเที่ยว
  2. แรงบันดาลใจในการเรียนนิเทศศาสตร์ ได้ค้นพบว่า สิ่งนี้แหละคือสิ่งที่เราต้องการและสามารถอยู่กับมันได้ตลอดชีวิต
  3. ความสามัคคีทำให้งานสำเร็จไปได้ด้วยดี ถ้าเราทะเลาะกันภายในกลุ่ม เราก็ไม่สามารถทำงานออกมาได้ดี แต่ถ้าเรามีความสามัคคีภายในกลุ่ม งานที่เรากำลังทำก็สามารถทำได้สำเร็จ
  4. การทำงานเป็นทีม คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ผมขอนำมาใช้ในการทำ IS การทำงานเป็นกลุ่มเราต้องรู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และ มีการแบ่งหน้าที่ของตนเอง และควรทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

                   ประวัติความเป็นมาไชยา

                     ประวัติศาสตร์เมืองไชยาระยะต่อจากนั้นก็เงียบหายไป  จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2328 พม่ายกกองทัพมาซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อสงคราม เก้าทัพ บุกเข้าตีเมืองชุมพร  แล้วตีเรื่อยจนถึงเมืองไชยา พร้อมกับเผาเมืองเสียจนถาวรวัตถุเป็นซากปรักหักพังเหลือไว้เป็นอนุสรณ์
                     เมืองไชยาสมัยต่อมาได้ตั้งเมืองอยู่ริมทะเลที่พุมเรียง แม้ว่าผู้คนจะน้อยแต่ก็มีสภาพเป็นเมือง สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ  เจ้าเมืองเป็นชาวบ้านไหน ก็จะตั้งเมืองที่นั่น  ทำให้เมืองไชยามีที่ตั้งเมืองหลายแห่ง  ครั้น 10 สิงหาคม พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมืองไชยา ที่พุมเรียง  ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู ดังนี้  พักอยู่ที่พลับพลาจนบ่าย 2 โมง จึงออกเดินไปตามถนนหน้าบ้านพระยาไชยา  ผ่านหน้าศาลากลางไปเลี้ยวลงที่
วัดสมุหนิมิตและเข้าไปดูวัด พระสงฆ์ทั้งในวัดและวัดอื่นมานั่งรอรับอยู่ในศาลาอยู่ในศาลาเต็มทุกศาลา ได้ถวายเงินองค์ละกึ่งตำลึงบ้าง องค์ละบาทบ้างทั่วหน้ากัน แล้วออกเดินต่อไปตามท้องถนนท้องตลาด  ตลาดเมืองไชยาไม่เป็นโรงแถวปลูกติดๆกันเหมือนเช่นเมืองสงขลา  ซึ่งมีจีนแห่งใดมักจะเป็นโรงแถวติดๆกันเช่นนั้น  แต่ที่ตลาดเมืองไชยาขายของหน้าเรือนหรือที่ริมประตูบ้านระยะห่างๆกัน  มีผ้าพื้นบ้าง  ผ้าขาวม้าราชวัตรบ้าง  ยกไหมยกทองก็มี เป็นของทอในเมืองไชยา  แต่ผ้าพื้นไม่มีมากเหมือนอย่างเมืองสงขลา  มีขนมมีขายมาก ชื่อเสียงเรียกกันเพี้ยนๆกันไปกับที่เมืองสงขลา  บ้านเรือนก็ดูหนาแน่น มีเรือนฝากระดานบ้าง แต่ตีรั้วหน้าบ้านโดยมาก  ที่เกือบจะสุดปลายตลาดมีวัดโพธาราม เป็นวัดโบราณที่มีพระครูกาแก้วทองอยู่  พระอุโบสถหลังคาชำรุด  ยังแต่ผนังมุงจากไว้  พระครูกาแก้วอายุ 80 ปี ตาไม่เห็น หูตึง แต่รูปร่างยังอ้วนพีเปล่งปลั่ง  จำกาลเก่าได้มาก  ปากคำอยู่ข้างจะแข็งแรง เรียบร้อย เป็นคนช่างเก็บของเก่าอย่างเช่น ผ้าไตรฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว มีผ้ากราบปักเป็นต้น ก็ยังรักษาไว้ได้และเล่าเรื่องราวในการงานที่มีที่กรุงเทพฯประกอบสิ่งของได้ด้วย เรียกชื่อคนทั้งชั้นเก่าชั้นใหม่เต็มชื่อเสียงแม่นยำ ได้สนทนากันก็ออกชอบใจจึงรับที่จะ        ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถซึ่งพระครูได้ตระเตรียมไว้บ้างแล้วนั้นให้สำเร็จ ได้มอบการให้พระยาไชยาเป็นผู้ทำ  เพราะอิฐกระเบื้องเขามีอยู่แล้ว และได้ถวายเงินพระครูชั่งห้าตำลึง  ข้างในเรี่ยรายกันเข้าในการปฏิสังขรณ์บ้าง  เจ้าสายมาทำบุญวันเกิดที่วัดนี้  ได้ถวายเงินในการปฏิสังขรณ์สองชั่ง รวมเงินประมาณสี่ชั่ง ออกจากวัดเดินไปจนสุดตลาด ยังมีทางต่อไปอีกหน่อยจึงจะถึงทุ่งไชยา  ตั้งแต่บ้านพระยาไชยาไปจนถึงทุ่งไชยาประมาณ 30 เส้น กลับโดยทางเดิมมาพักที่พลับพลา  พระยาศักดิ์วามดิฐ เป็นผู้ช่วยพระยาไชยาจัดการเลี้ยงทั่วไป  อยู่ข้างจะดีกว่าทุกแห่ง  เวลา 5 โมงครึ่งกลับมาเรือ
                    เมื่อ พ.ศ.2440 ก็จัดเขตการปกครองประเทศใหม่ ออกเป็นมณฑลจึงรวมเมืองไชยาเข้ากับเมืองชุมพร เมืองหลังสวน รวมเรียกว่ามณฑลชุมพร  มีศาลาการตั้งอยู่ที่เมืองชุมพร  ต่อมาปี พ.ศ.2442  ก็ประกาศรวมเมืองไชยาและเมืองกาญจนดิษฐ์เข้าเป็นเมืองเดียวกัน  มีศาลากลางตั้งอยู่ที่บ้านดอนแล้วเรียกเมืองนี้ว่า เมืองไชยา ส่วนที่พุมเรียงให้เรียก อำเภอพุมเรียง แต่ราษฎรก็ยังเรียกว่าเมืองไชยาอยู่ มิได้เรียกเมืองไชยาที่ตั้งที่บ้านดอนว่า เมืองไชยา จึงแก้ไขให้เรียกเมืองที่ตั้งที่บ้านดอนว่า สุราษฎร์ธานี และเปลี่ยนนามอำเภอพุมเรียงว่า อำเภอเมืองไชยา
                    ต่อมาปี พ.ศ.2478 ได้ย้ายที่ทำการ อำเภอเมืองไชยาจากที่ตั้งเมืองเก่า (พุมเรียง)  มาตั้งที่บ้านดอนโรงทอง(ตำบลตลาดไชยา)จนถึงทุกวันนี้ และในปี พ.ศ.2480  ก็ได้เปลี่ยนอำเภอเมืองไชยา มาเป็น
 อำเภอไชยา เพราะอำเภอที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเท่านั้นถึงจะเรียกว่า อำเภอเมือง......ได้ และต่อมาเมื่อมีการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่านอำเภอไชยา  การคมนาคมสะดวกขึ้น ผู้คนก็ได้เริ่มมาตั้งทำมาหากินอยู่ใกล้ทางรถไฟมาขึ้น กลายเป็นชุมชนใหญ่
รายนามเจ้าเมืองไชยา

ตามจดหมายเหตุของหมื่นอารีราษฎร์ (วิน สาลี) บันทึกไว้ว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีรับสั่งให้พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยา ให้ช่วยสืบหานามตำแหน่งเจ้าเมืองไชยาและนามเดิมตั้งแต่คนแรกตลอดมา จึงได้จัดการสืบหาได้ตามคำบอกเล่าของขุนนาคเวชวีรชน (จบ นาคเวช) อดีตกำนันตำบลทุ่ง และพระยาศรีสงคราม (ช่วย) ปลัดเมืองไชยานอกราชการ ดังนี้

มะระหุมปะแก
มะระหุมตาไฟ
มะระหุมมุดา
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (บุญชู)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (พุทโธ)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (หัวสั่น)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (มี) บิดา เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ท้วม)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ปลอด)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(กลิ่น)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(กลับ)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(จุ้ย)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(น้อย)
พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(ขำ ศรียาภัย)
นายพินิจราชการ(ปิ้ว)

หลวงวิเศษภักดี (อวบ)
มวยไชยา
กำเนิดมวยไชยา
มีวัดเก่าแก่อรัญญิกชื่อวัดทุ่งจับช้าง เป็นวัดรกร้างอยู่ในป่าริมทางด่านเดิมที่จะไปอำเภอไชยา วัดนี้มีชื่อเสียงเพราะสมภารซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อท่านมา” เป็นชาวกรุงเทพฯได้หลบหนีไปอยู่เมืองไชยาด้วยเรื่องใดไม่ปรากฏพ่อท่านมาได้ฝึกสอนวิชามวยไทยแก่ชาวไชยาจนขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมวย แม้ทุกวันนี้นักมวยที่ปรารถนาความสวัสดีมีชัย ต้องร่ายรำมวยเป็นการถวายคารวะหน้าที่บรรจุศพก่อนที่จะผ่านไป มวยสุราษฎร์ฯหรือมวยไชยาจึงมีชื่อเสียงตลอดมา
มวยไทยไชยา จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นเริ่มต้นที่ พ่อท่านมา ไม่มีใครทราบว่าท่านมีชื่อจริงว่าอย่างไร ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็น ครูมวยใหญ่ จากพระนคร บ้างก็ว่าท่านเป็น ขุนศึก แม่ทัพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงเรียกเพียงว่า พ่อท่านมา ท่านได้เดินทางมาที่เมืองไชยา และได้ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ไว้ให้แก่ชาวเมือง และศิษย์ที่ทำให้ มวยเมืองไชยา เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุค ร.5 คือ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย เคยกล่าวไว้ว่า ท่าย่างสามขุม ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบฯ พ.ศ. 2464 (ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ พระไชยโชคชกชนะ (อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกครูมวยและครูกระบี่กระบองผู้กระเดื่องนาม ในรัชสมัย ร.5) และปรมาจารย์ ขุนยี่สานสรรพยากร (ครูแสงดาบ) ครูมวยและครูกระบี่กระบอง ลือชื่อ ในสมัย ร.6 นั้นมีความกระชับรัดกุม ตรงตามแบบท่าย่างสามขุมของ ท่านมา (หลวงพ่อ) ครูมวยแห่งเมืองไชยา ท่านนับเป็นต้นสายของมวยไชยา มรดกอันล้ำค่าของคนไทย
 ศาลาเก้าห้อง
หลังจากที่กำเนิดมวยไชยาขึ้นแล้ว กิจการด้านนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับการชกมวยจึงเป็นกีฬาสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเทศกาลงานฉลองหรือสมโภชต่าง ๆ และมาเจริญสูงสุดครั้งหนึ่งคือสมัยศาลาเก้าห้องศาลาเก้าห้องนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลพุมเรียง สร้างโดยพระยาวจีสัตยารักษ์ สร้างขึ้นเป็นสาธารณสมบัติศาลานี้สร้างขนานกับทางเดิน (ทางด่าน) มีเสาไม้ตำเสา 30ต้น เสาด้านหน้าเป็นเหลี่ยม แถวกลางและแถวหลังเป็นเสากลม ระหว่างเสาสองแถวหลังยกเป็นพื้นปูกระดานสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ส่วนระหว่างแถวหน้ากับแถวกลางเป็นพื้นดิน ยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ยาวประมาณ 13 วา 2 ศอก ส่วนกว้างประมาณ 3 วา หลังคาลิลา มุงสังกะสี มีบ่อน้ำทางทิศตะวันตก 1 บ่อปัจจุบันศาลาเก้าห้องเดิมได้ถูกรื้อถอนโดยนายจอน ศรียาภัย ลูกคนที่สามของพระยาวจีสัตยารักษ์ เมื่อออกจากราชการกรมราชทัณฑ์และกลับไปอยู่บ้านเดิมที่ไชยายังคงเหลือไว้แต่เพียงบ่อน้ำซึ่งแต่เดิมกรุด้วยไม้กระดาน และต่อมาราษฎรได้ช่วยกันสละทรัพย์หล่อซีเมนต์เสร็จ เมื่อปี 2471 และสร้างศาลาใหม่ขึ้นที่ด้านตะวันออกของศาลาเดิมแต่มีขนาดเล็กกว่ายังคงมีอยู่กระทั่งปัจจุบันนอกจากจะใช้เป็นที่พักคนเดินทางแล้ว ศาลาเก้าห้องแห่งนี้ยังใช้เป็นที่สมโภชพระพุทธรูป เนื่องในงานแห่พระพุทธทางบกในเดือน 11 ของทุกปีประจำเมืองไชยาอีกด้วย และในงานแห่พระพุทธรูปทางบกและงานสมโภชนี้ ที่ขาดไม่ได้คือการชกมวยเป็นการสมโภชเป็นประจำทุกปีด้วย
 การชกมวยที่ศาลาเก้าห้อง

เมื่อถึงเทศกาลแห่พระบกประจำปี จะมีการแห่พระมาที่ศาลาเก้าห้องและทำการสมโภชที่นั่น ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้านายก็ไปพร้อมกันที่ศาลาเก้าห้องแห่งนี้ ในการนี้นักมวยของแต่ละแห่งก็จะเดินทางเพื่อจับคู่ชกกันเมื่อการแห่พระพุทธรูปมาถึงศาลาเก้าห้องก็เริ่มพิธีสมโภช ครั้นเวลานักมวยจะไปชุมนุมกันหน้าศาลา โยมีพระยาไชยาเป็นประธาน การจับคู่มวยในสมัยนั้นไม่มีการชั่งน้ำหนักเพียงแต่ให้รูปร่างพอฟัดพอเหวี่ยงกันก็เป็นการใช้ได้ หรือถ้ารูปร่างต่างกันมาก ก็ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของคู่ต่อสู้ เพราะคนสมัยก่อนไม่เหมือนกับคนสมัยนี้ บางคนโกรธกันก็ถือเอาโอกาสนี้มาต่อสู้กันตัวต่อตัวต่อหน้าประธาน

ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศ
          ท้องที่อำเภอไชยาแบ่งออกเป็นสามตอน คือทางทิศตะวันออกซึ่งติดกับทะเลเป็นที่ราบน้ำเค็ม มีป่าไม้ชายเลน ไม้เบญจพรรณ และทุ่งหญ้าที่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม เดิมมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันน้ำจะแห้งในระหว่างเดือน 5และเดือน 6 ทางทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ตอนนี้เป็นสวนยางและสวนผลไม้ยืนต้นทั่วไป
ลักษณะภูมิอากาศ
            มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เพราะตั้งอยู่ในคาบสมุทรจึงได้รับลมมรสุมเต็มที่ มีเพียง2 ฤดู คือ ฤดูแล้งและฤดูฝน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมตามลำดับ
ลำน้ำสำคัญ
 อำเภอไชยามีลำน้ำสำคัญ 2 สาย คือ
คลองไชยา ต้นกำเนิดจากแพรกหรือแควต่าง ๆ ในทิวเขาแดนซึ่งเป็นทิวเขากั้นระหว่างอำเภอกะเปอร์ (จังหวัดระนอง) กับอำเภอไชยา ไหลผ่านตำบลโมถ่าย ตำบลป่าเว ตำบลเวียง แล้วไหลผ่านแยกลงทะเลที่ปากน้ำท่าปูนและปากน้ำไชยา ตำบลเลม็ด เมื่อ100 ปีก่อนเรือใบสามารถแล่นมาถึงวัดพระบรมธาตุได้
คลองตะเคียน ต้นกำเนิดจากทิวเขาจอมสีในอำเภอท่าชนะ ไหลเขาสู่อำเภอไชยาที่ตำบลป่าเว ผ่านตำบลตลาด ตำบลทุ่ง และไหลออกปากน้ำที่ตำบลพุมเรียง

สถานที่พักในอำเภอไชยา



Laempho Beach Resort
แหลมโพธิ์ บีซ รีสอร์ท412/2 Moo 1 T.Phumriang,Chaiya,Suratthani 84110
412/2   หมู่ 1 ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทร. 077-229111, 089-7308999
700-1500

Laemthong Resort
แหลมทอง รีสอร์ท146  Moo 5 T.Phumriang,Chaiya,Suratthani 84110
146  หมู่ 5 ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทร. 081-3960011
350

Puen Doen Thang
เพือนเดินทาง15/1 Moo 6 Asia Rd. T.Lamed.Chaiya.Suratthani 84110
15/1 ม.ถ.เอเชีย ต.ละเม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทร. 077-431559, 077-431767
200-500

Rung Aroon Resort
รุ่งอรุณ รีสอร์ท112 Moo 5 T.Phumriang,Chaiya,Suratthani 84110
112  หมู่ 5 ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทร. 077-270276, 089-8687681
300-1000

Udomlarp
อุดมลาภ136/4 Moo 10 Mutrapruek Rd.Moo 1,T.Thalad Chaiya,chaiya,Suratthani 84110
136/4 ถ.มุทราพฤกษ์ ม.ต.ตลาดไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี84110
โทร. 077-431123, 077-431946
150-450

สวนโมกพลาราม

                      สวนโมกขพลาราม หรือชื่อเรียกทางการว่า

 วัดธารน้ำไหล จัดตั้งโดย พุทธทาสภิกขุ ตั้งที่เขาพุทธทอง
 
ริมทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณกิโลเมตรที่ 134

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

และสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
เจดีย์วัดหลงไชยา


                  วัดหลงเป็นวัดเก่าแก่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด

 แต่สันนิษฐานว่าเจดีย์ของวัดนี้สร้างร่วมสมัยกับพระเจดีย์วัด

พระบรมธาตุไชยา คือประมาณระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕

 เป็นเจดีย์ที่ชำรุดทิ้งร้างมานานเหลือแต่ซากอิฐและฐานราก 

กรมศิลปากรได้ประกาศให้เป็นโบราณสถานสำหรับชาติมาตั้งแต่

ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ต่อมากองโบราณคดี กรมศิลปากรได้ทำการขุด

แต่งและบูรณะ
ผ้าไหมพุมเรียง


ผ้าพุมเรียง เป็นผ้ายกที่มีลวดลายสวยงามและมีเอกลักษณ์ต่างไปจากผ้ายกของภาคอื่นๆ กล่าวคือ มีการทอยกดอกด้วยไหม หรือ ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ในสมัยโบราณจะมีการใช้วัตถุดิบทั้งฝ้ายและไหม โดยแบ่งออกเป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทอโดยใช้ฝ้าย และผ้าที่ใช้ในงานหรือพิธีการต่างๆ จะทอโดยใช้ไหม





วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร






เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารสังกัดคณะสงฆ์มหา

นิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอ

ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุ

พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็น

ปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็น

หนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้

 ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี















ไข่เค็มไชยา



                 ไข่เค็มไชยา เป็นของฝากขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภอ

ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากใช้ไข่เป็ดธรรมชาติมาทำด้วย

เทคนิคที่แตกต่างจากไข่เค็มถิ่นอื่น จึงเป็นไข่เค็มที่ไข่แดงสีแดงจัด

 มีรสชาติกลมกล่อมไม่เค็มจัด และอร่อยติดปากผู้ที่ได้ลองลิ้มชิม

รสมาเป็นเวลายาวนาน